อาหารทำเอง, อาหารง่ายๆ, สูตรข้าวแกง, สูตรอาหาร อร่อยๆ, อาหารไทย, วิธีทำอาหาร อาหารไทยง่ายๆ





วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พืชสมุนไพร ใบยี่หร่า ประโยชน์ การทำอาหาร และสุขภาพ

ยี่หร่า
ชื่อวิทยาศาสตร์:   Ocimum gratissimum Linn.
ชื่ออื่น:                  จันทร์หอม เนียมต้น เนียม กะเพราญวน โหระพาช้าง
ชื่อภาษาอังกฤษ: Shrubby Basil
วงศ์:                     LAMIACEAE

ยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมใช้ผัด ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงยี่หร่าชนิดนี้ (แบบกินใบ)
ใบยี่หร่า
ใบยี่หร่า


สรรพคุณของยี่หร่า
- สมุนไพรยี่หร่า สามารถช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ (ใบ)
- สรรพคุณยี่หร่าช่วยในการบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
- ใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซี และธาตุแคลเซียม ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยขับเหงื่อ ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย (ใบ)
- ใบยี่หร่า สรรพคุณช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ด้วยการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่มจนกว่าจะหาย (ใบ)
- ยี่หร่า สรรพคุณช่วยแก้โรคเบื่ออาหาร (ใบ)



Advertisment



- ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร (ต้น,รากแห้ง)
- ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย (ใบ)
- ต้นยี่หร่า สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง (ใบ,ต้น,รากแห้ง)
- ประโยชน์สมุนไพรยี่หร่า ช่วยในการขับลมในลำไส้ (ใบ,ต้น,รากแห้ง)
- น้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่า มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการหดเกร็งของไส้ (น้ำมันหอมระเหย)
- ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-5 กรัมนำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตรทิ้งไว้สักระยะแล้วจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง (ผล)
- ยี่หร่ายังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนในสตรีได้ (ใบ)

ประโยชน์ของยี่หร่า
ประโยชน์ของใบยี่หร่า ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิด เช่น แกงผัดเผ็ด ซุป ต้มยำ แกงคั่วปลาดุก เป็นต้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อาหารไทยบางชนิดนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ด้วยการคั่วเมล็ดมาโขลกผสมกับเครื่องแกง ทำเป็น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ เป็นต้น เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าเสียเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้งอีกด้วย น้ำมันยี่หร่า (Caraway Oil) นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยังนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้อีกด้วย





แหล่งอ้างอิง : www.learners.in.th, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, หนังสือคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย (กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข), หนังสือผักพื้นบ้านภาคกลาง (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข), พจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม)
Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Recent Posts Widget

ผู้สนับสนุน