อาหารทำเอง, อาหารง่ายๆ, สูตรข้าวแกง, สูตรอาหาร อร่อยๆ, อาหารไทย, วิธีทำอาหาร อาหารไทยง่ายๆ





วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กินเพื่อสุขภาพ มะเขือเปราะลดน้ำตาลในเลือด

Admin สูตรข้าวแกงไม่ได้อัพเดทข้อมูลมาช่วงหนึ่งแล้ว วันนี้พอมีเวลาว่าง ก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับ มะเขือเปราะมาให้ได้อ่านกัน Admin เป็นคนนึงที่ชอบกินมะเขือเปราะมาก ชอบกินดิบ จิ้มกับน้ำพริก มันจะทำให้ได้รสชาติของมะเขือเปราะที่ออกจะหวานนิด มันหน่อย ชอบแบบอ่อน เมล็ดไม่แก่ คือ กลัวเป็นใส้ติ่ง (หรือเปล่าก็ไม่รู้) มาดูข้อมูลของเจ้ามะเขือเปราะกันได้เลย


อาหารที่มีมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ (Yellow berried nightshade หรือ Kantakari ในประเทศอินเดีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl.
วงศ์ Solanaceae
มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่กินผล มีชื่อเรียกอื่นๆ ดังนี้ มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง) มะเขือขันคำ มะเขือคางกบ มะเขือดำ มะเขือแจ้ มะเขือจาน มะเขือแจ้ดิน (เหนือ) เขือพา เขือหิน (ใต้) มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะเขือหืน (ภาคอีสาน)
ต้นมะเขือเปราะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 2-4 ฟุต มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย








ข้อมูลทางการแพทย์

การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม

ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ
ประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน
งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด

ผลของการต้านมะเร็ง
ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่

พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว

สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้
ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ

ผลของการใช้ลดน้ำตาลในเลือด

งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

การทดสอบเพิ่มเติมพบว่า สารสกัดดังกล่าวออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองแต่อย่างใด

เมื่อใครได้รับทราบและรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเจ้ามะเขือเปราะแล้ว ก็หามากินกันได้นะครับ เวลามีแกงที่มีมะเขือเปราะเป็นส่วนประกอบ ก็มักจะเขี่ยทิ้งกัน ไม่กินกัน แต่คุณหารู้ไม่ว่ามันมีประโยชน์มาก

ข้อมูลอ้างอิง: www.doctor.or.th
Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Recent Posts Widget

ผู้สนับสนุน