น่ากลัว คนไทยทานอาหารที่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงในเลือดสูง
เว้นจากสูตรอาหาร เมนูอาหารไทย หันมาดูแลตัวเองเกี่ยวกับสารเคมีและยาฆ่าแมลง น่ากลัวมากได้อ่านบทความ จากมติชน มานึกถึงว่าอยู่ใกล้ตลาดเห็นผักงามๆ สวยๆ แต่ก็น่าจะมีสารเคมีตกค้าง อาจจะไม่มาก แต่ถ้ากินสะสมไปเป็นระยะเวลานาน ก็น่าจะมีผลต่อระบบร่างกายแน่นอน เคมี ยาฆ่าแมลง ยังไงเมื่ออยู่ในร่างกายก็ย่อมไม่ดี เมื่อมันสะสมจนมากพอและภูมิต้านทานร่างกายทนไม่ใหว ก็จะปะทุ เกิดเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น มะเร็ง ตามอวัยวะต่างๆ มะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งเมื่อได้ยินโรคนี้แล้ว ไม่มีใครอยากจะเป็น เพราะรอวันจากไปอย่างเดียววิธีแก้ทางที่ดี หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารเคมี ถ้าเป็นไปได้ก็ปลูกทานเอง ปลูกผักริมรั้ว ปลูกผักในกระถาง ถือว่าเป็นกิจกรรมยามว่าง
อาหารไทย by Aerk ได้ทดลองปลูกคะน้าปลอดสาร ผักปลอดสาร ทานได้ สามารถปลูกได้ในกระถางปลูกต้นงาช้าง ใส่ปุ๋ยขี้หมูแห้ง รดน้ำเช้าเย็น ทานผักเพื่อสุขภาพ
คะน้า ปลอดสาร |
คะน้า ปลอดสาร ในกระถางงาช้าง |
ข้อมูลจาก มติชน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418978492
วิกฤตเคมีและยาฆ่าแมลงในอาหารทำคนไทยเสี่ยงตายเพิ่ม หลังสำรวจพบเกษตรกรไทยมีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงถึง 30% ด้านผู้บริโภคเสี่ยงตายหนักพบสารเคมีตกค้างในเลือดถึง 36% สสส. ห่วงสุขภาพคนไทย ล่าสุดจับมือ พันธมิตร สร้างเครือข่ายการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน ปลอดภัยนางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารปลอดภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงความไม่ปลอดภัยและความเสี่ยงในการบริโภคอาหารของคนไทยปัจจุบัน พบว่าอัตราเสี่ยงที่จะประสบปัญหาด้านสุขภาพมีเพิ่มมากขึ้น จากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีและยาฆ่าแมลง โดยผลการสำรวจของมูลนิธิชีววิถี (Biothai) พบว่า เกษตรกรไทยมีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงถึง 30% แต่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคือกลุ่มผู้บริโภคเนื่องจากมีปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดสูงถึง 36%
ด้วยเหตุนี้ สสส. ซึ่งมีนโยบายด้านการพัฒนาระบบและกลไกลสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จึงร่วมกับ บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด และ และเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือก ด้วยกลไกการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และ ผู้บริโภค ขึ้น เพื่อให้เกิดสังคมการบริโภคอย่างยั่งยืนและปลอดภัย ซึ่งโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ จะเชื่อมโยงผลผลิตในวิถีการผลิตที่ใส่ใจจากทั้งเกษตรในแนวทางของเกษตรอินทรีย์ และ การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคโดยตรง โดยที่กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารนั้น จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และระบบนิเวศน์
ด้าน นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ กล่าวถึงกลไกการเชื่อมโยงผู้ผลิตหรือเกษตรกรกับผู้บริโภคว่า โครงการฯ จะเป็นคนกลางในการเชื่อมโยงเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารไปสู่ผู้ประกอบการหรือผู้จัดจำหน่าย อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสีเขียว ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผู้ให้บริการจัดเลี้ยงสีเขียว รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคสีเขียวอีกด้วย โดยในการทำงานนั้นจะมีการประสานงานกับนักวิชาการในการให้ความรู้เรื่องการผลิตและการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัยพร้อมทั้งสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ในเครือข่ายให้สามารถตรวจสอบในด้านของความปลอดภัยสารเคมีตกค้างและสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้บริโภคโดยขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกับโครงการฯแล้วประมาณ 10 กลุ่ม
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการประสบผลสำเร็จนั้นเกิดจาก “การสร้างประโยชน์ร่วม ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค” ซึ่งผู้ผลิตจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายตลาดไปสู้ผู้บริโภคโดยตรง ส่วนผู้บริโภคเองก็จะมีช่องทางในการบริโภคผลผลิตอินทรีย์โดยไม่ต้องผ่านระบบคนกลาง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ราคาไม่แพง และเป็นการเกื้อหนุนวิถีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งความผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ นั้น จะส่งผลให้สังคมเห็นถึงพลังของผู้บริโภคมีอยู่จริง โดยเราสามารถเลือกอาหารและผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อชีวิตตนเองได้ ทั้งยังช่วยสร้างความเกื้อกูลกันในสังคมของผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เกิดเป็นระบบในการบริโภคอาหารที่ดีและเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง
สำหรับในส่วนของการพัฒนาเกษตรกรนั้นนายสุชาญศีลอำนวยเลขาธิการมูลนิธิเอ็มโอเอไทยในฐานะองค์กรผู้ร่วมสนับสนุนโครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯกล่าว่าแนวทางในการช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้น มี 4 แนวทาง คือ
1. ให้ความรู้จัดอบรมปรับแนวคิดด้านเกษตรธรรมชาติอย่างถูกต้องแก่เกษตรกร โดยนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพาภายนอก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก
2. ติดตามผลร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการฯ เพื่อร่วมเรียนรู้กับเกษตรกรในแปลง พร้อมให้คำปรึกษาด้านต่างๆ โดยเฉพาะเทคนิคการเพาะปลูกที่คล้อยตามและเคารพธรรมชาติ พร้อมสอดแทรกปรัชญาแนวคิดการพัฒนาจิตใจของเกษตรกรให้คำนึงถึงสุขภาวะของผู้บริโภคเป็นอันดับแรก
3.จัดการพบปะกับเกษตรกรกลุ่มอื่นและกลุ่มผู้บริโภคเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้รับฟังความคิดเพื่อนำมาพัฒนาผลผลิตของตนเอง
4.สร้างเกษตรกรรายใหม่เพราะการสร้างตลาดทางเลือกจำเป็นต้องมีกลุ่มเกษตรกรจำนวนมากและกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการและผลผลิตไม่ขาดตลาด
5.วางแผนการปลูกร่วมกันกับเกษตรกรเพื่อกำหนดชนิดปริมาณและราคาซึ่งจะนำไปสู่การสร้างตลาดทางเลือกที่เกื้อกูลเกษตรกร โดยมูลนิธิฯ และโครงการฯ มีตลาดรองรับผลผลิตของเกษตรกรไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการร่วมมือกันของทุกฝ่ายครั้งนี้จะทำให้โครงการพัฒนาต้นแบบตลาดทางเลือกฯ ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
ข้อมูลอ้างอิง http://www.matichon.co.th
เรียบเรียง: http://thaifoodrecipesmake.blogspot.com/
0 comments:
แสดงความคิดเห็น