อาหารทำเอง, อาหารง่ายๆ, สูตรข้าวแกง, สูตรอาหาร อร่อยๆ, อาหารไทย, วิธีทำอาหาร อาหารไทยง่ายๆ





วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขนมไทยโบราณ ข้าวเม่า ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าทอด วัฒนธรรมการกิน

ขนมไทยโบราณ ข้าวเม่า ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าทอด วัฒนธรรมการกิน ยังหากินได้

ยังจำความได้สมัยเด็กนั่งคั่วข้าวเพื่อตำข้าวเม่า ใช้ก้านกล้วยกวนไปมาจนข้าวแตกเสียงดังเปี๊ยะๆ แล้วก็ใส่ครกตำข้าว ใช้แรงงาน 3 คน สลับกันตำ การตำข้าวเม่าแต่ละคนต้องรู้จังหวะให้ดี ไม่งั้นสากตำชนกันแน่นอน

ข้าวเม่าคลุก
ข้าวเม่าคลุก ใส่มะพร้าว และน้ำตาลทราย
เมื่อตำแล้วก็จะได้ข้าวเม่าสีเขียว ก็กินได้แล้ว แต่ยังไม่พอบางท่านก็ขูดมะพร้าวอ่อนใส่คลุกเคล้า และก็ตามด้วยน้ำตาล

ที่เล่ามา คือ สมัยยังเป็นเด็กที่บ้านปลูกข้าวไร่ ข้าวเม่า คืออาหารที่วิเศษสุดแล้วครับ แต่ที่จะนำเสนอคือ วัฒนธรรมการกิน ข้าวเม่าขนมของไทยเรา ว่ามาได้อย่างไร

ครก ไว้ตำข้าวเม่า
ครก ไว้ตำข้าวเม่า

ข้าวเม่า คือ ข้าวที่ถูกตีหรือทุบจนเมล็ดข้าวแบน ทำมาจากเมล็ดข้าวที่ไม่อ่อนและยังไม่แก่จนเกินไป สามารถทำได้ทั้งข้าวเจ้า ข้าวเหนียวและข้าวเหนียวดำ แต่ที่นิยมคือข้าวเหนียว ข้าวเม่ามีหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าอ่อนซึ่งทำมาจากข้าวห่ามที่เปลือกเป็นสีเขียวเข้ม และข้าวเม่าขาวนวล ทำมาจากข้าวเกือบแก่ เปลือกเขียวอมน้ำตาล เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวสีน้ำตาล

ข้าวเม่ามีให้กินได้ทุกภาคของไทย ทั้งนี้เพราะแทบทุกภาคมีการปลูกข้าว ทำนาข้าว ปลูกข้าวไร่

ข้าวเม่า ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวไล่มาจนถึงสีเขียวตกน้ำตาล การบริโภคข้าวเม่าพบในทุกประเทศที่ปลูกข้าว ตั้งแต่ไทยลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า ภูฏาน อินเดีย ทิเบต ในภูฏานใช้เป็นอาหารว่างกินกับน้ำชา [1] ในไทยเป็นขนมที่นิยมกินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตตอนหน้าน้ำจะมีแม่ค้านำขนมใส่เรือมาขาย และขนมกลุ่มนั้นมีข้าวเม่าทอดอยู่ด้วย มีกล่าวถึงข้าวเม่าในนิราศน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2460 ว่า

พวกแม่ค้ามาขายข้าวเม่าทอด แตงเมหลอดน้ำยาแกงปลาไหล
มีเพลงกล่อมเด็กกล่าวถึงข้าวเม่าว่า

โอ้ละเห่เอย หัวล้านนอนเปล ลักข้าวเม่าเขากิน
เขาจับตัวได้ เอาหัวไถลไถดิน หัวล้านมักกิน ตกสะพานลอยไป

วิธีทำข้าวเม่าแบบโบราณ

1) นำเมล็ดข้าวมาคั่วไฟ จนเมล็ดข้าวเริ่มแตก
2) จากนั้นนำมาตำ เพื่อกะเทาะเปลือกออกจากเมล็ด เมื่อตำแล้วจะได้เมล็ดข้าวที่มีลักษณะแบนๆ
3) นำมาใส่กระด้ง ทำการฝัดเพื่อแยกเปลือกออกจากข้าวเม่า
4) จะได้ข้าวเม่าที่สามารถรับประทานได้เลย ซึ่งโดยทั่วไปที่กินทานกัน คือ คลุกเคล้ากับมะพร้าวและน้ำตาล หรืออีกแบบ คือ นำข้าวเม่าที่ตำแล้วนำไปคั่วในกระทะให้สุกและกรอบ หรือเรียกอีกอย่างว่า "ราง" ก็มีรสชาติและความหอมอีกรูปแบบหนึ่ง

ข้าวเม่าทำเป็นขนมได้หลายแบบ

  • ใส่เป็นส่วนผสมในกระยาสารท
  • ข้าวเม่าบด ใช้ข้าวเม่าใหม่คั่วให้หอมแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หยดหัวกะทิลงบนข้าวเม่าที่กรองไว้ กะทิจะผสมข้าวเม่าเป็นก้อน แล้วนำมากลิ้งไปมาบนฝ่ามือให้เป็นก้อนเหมือนไข่จะละเม็ด
  • ข้าวเม่าราง คือข้าวเม่าที่นำมาคั่วจนพองแล้วกินกับน้ำกะทิ
  • ข้าวเม่าหมี่ เป็นข้าวเม่ารางแบบแห้ง คือใส่กุ้งแห้ง เต้าหู้ทอด ถั่วลิสง หรือใส่น้ำตาลทรายถ้าเป็นแบบหวาน
  • ข้าวเม่าทอด เป็นข้าวเม่ากวนกับน้ำตาลผสมกับแป้งพอกกล้วยไข่ทั้งลูกแล้วทอด บางท้องถิ่นเรียกกล้วยข้าวเม่า

วัฒนธรรมการกิน
ไทยเรามักกินข้าวเม่า เป็นอาหารว่าง เช่น ตำข้าวเม่าระหว่างรวงข้าวกำลังเขียวอ่อน สวย หอมกลิ่นข้าว

สารอาหารที่ได้จากข้าวเม่า

คุณค่าของข้าวเม่ามีมากมาย เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน ธาตุเหล็ก แคลเซียม




ข้าวเม่าประโยชน์ต่อร่างกาย

บำรุงเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้ แก้โรคเหน็บชา ป้องกันโรคปากนกกระจอก เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง https://th.wikipedia.org/
Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Recent Posts Widget

ผู้สนับสนุน