อาหารทำเอง, อาหารง่ายๆ, สูตรข้าวแกง, สูตรอาหาร อร่อยๆ, อาหารไทย, วิธีทำอาหาร อาหารไทยง่ายๆ





วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

อันตรายของไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ป้องกัน ด้วยอาหารที่มีกากใยสูง

อันตรายของไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และการป้องกัน
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) จากการศึกษามันน่ากลัวมาก เป็นไขมันที่ไม่ดีอยู่ในเส้นเลือดของเรา และ เรียกได้ว่า "ภัยมืด" ก็ว่าได้ มันมาได้ 2 ทาง คือ อาหาร และร่างกายสร้างขึ้นเอง สิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคน และคิดว่าเป็นส่วนสำคัญ คือ สมอง และ หัวใจ (หัวใจขาดเลือด และสมองตีบ) แต่ใช่ว่าจะเกิดอย่างฉับพลัน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเกิดเหมือนกัน เราสามารถป้องกันได้ และอาหารนี่และเป็นตัวการสำคัญ การป้องกัน เราสามารถปรับพฤติกรรมการกินของเราได้ ซึ่งจะช่วยให้ห่างไกลพร้อมกับการออกกำลังกายควบคู่กันไป

ผลไม้ที่ควรกิน เพื่อลด กรดไขมันไตรกลีเซอไรด์
ผลไม้ที่ควรกิน เพื่อลด กรดไขมันไตรกลีเซอไรด์


ไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) มาได้อย่างไร
   ไตรกลีเซอไรด์ มาได้ 2 ทาง
   1 มาจากอาหาร จำพวกเนื้อ: กรดไขมันพวกนี้จะสะสมอยู่ใต้ผิวหนังของสัตว์ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของสัตว์ เมื่อเรากินเนื้อเข้าไปก็จะเข้าไปสะสมในร่างกาย

   2 มาจากร่างกายสร้างเอง: มันสร้างได้อย่างไร?
      อาหารจำพวกแป้งหรือคาโบโฮเดรต: เช่น แป้ง, น้ำตาล, แอลกอฮอล์ ซึ่งถ้าร่างกายนำไปใช้ไม่หมด จะส่งผลให้ตับ (จำไว้ว่า "ตับ") เปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์แทน
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
Credit: http://th.wikipedia.org/


มักจะเกิดกับคนวัยใด???
      จะเกิดกับคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ถ้านึกมองย้อนกลับไปเมื่อวัยเด็ก กินเท่าไรก็ไม่อ้วน ไม่ต้องออกกำลังกายแค่เดินก็ผอมแล้ว แต่เมื่ออายุขึ้นเลข 3 แล้วจะเรื่มมีหน้าท้อง ***ที่มาจาก นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride). Health.Co.Th Journal 2010:2:7-7.


ไตรกลีเซอไรด์เท่าไร ที่เรียกว่าสูง
      โครงการศึกษาโคเลสเตอรอลแห่งชาติอเมริกัน (NCEP) กำหนดมาตรฐานระดับของไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดังนี้มัน
< 150 mg/dl      ถือว่าพอดี (optimal)
150-199            ถือว่าสูงคาบเส้น (borderline high)
200-499            ถือว่าสูง (high)
> 500                ถือว่าสูงมาก (very high)

อันตรายของไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride)
       ถือได้ว่าเป็นภัยเงียบ ถ้าเกิดกับ หัวใจ และ สมอง ขอยกตัวอย่างที่เกิดกับสมอง
เคยเจอเหตุการณ์จริง มีน้องที่รู้ จักกัน อยู่ๆ ก็ช็อคหมดสติทั้งๆ ที่ร้องเพลงอยู่ และก็ได้นำส่งโรงพยาบาล ซึงหลังจากหมอได้ทำการ X-ray พบว่า เกิดเส้นเลือดหลักตีบที่สมองซีกซ้าย  คือถ้าเกิดเส้นเลือดฝอย ให้กินยาสลายลิ่มเลือดก็น่าจะดีขึ้น แต่มันเป็นเส้นเลือดหลักที่แกนสมอง หมอให้ยาแล้วก็อาการไม่ค่อยดี
       จุดสำคัญ คือ เมื่อเส้นเลือดหลักตีบ มันจะส่งผลให้เลือดส่งไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้สมองขาดเลือด และร้ายแรงเข้าไปอีก คือ เกิดอาการสมองบวมไปทับเส้นประสาท ร่างกายเคลื่อนใหวไม่ได้ คนไข้ร่างกายขยับไม่ได้เลย ทั้งที่มีความรู้สึกนึกคิด มันทรมารมาก สุดท้าย หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลับ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
       สาเหตุที่พอจะสรุปได้ กับเหตุการณ์นี้ เส้นเลือดตีบ เกิดจาก กินอาหารที่มีไขมัน พักผ่อนน้อย เครียด

การป้องกันไขมันในเส้นเลือดสูง
       เมื่อเรารู้ว่า ไตรกลีเซอไรด์ มาได้อย่างไร เราก็สามารถป้องกันได้
1) ถ้าใครที่ชอบกินอาหารที่มีไขมัน เช่น เนื้อ หมู ไก่ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ก็ให้เลิกกิน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะให้เลิกซะทีเดียว ก็ใช่ว่าจะทำง่าย
     วิธีการ :   ให้ลดปริมาณของอาหาร ให้กินผลไม้ที่ไม่หวานแทน และออกกำลังกาย
2) ลดอาหารประเภทแป้ง เช่น น้ำตาล แป้ง  อาหารจำพวกนี้ถ้ากินมาก ส่งผลให้ร่างกายนำไปเผาผลาญไม่หมด จะทำให้ตับช่วยเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์แทน
     วิธีการ :   หลีกเลี่ยง ของหวาน กินให้น้อย กินข้าวมื้อเย็นน้อยๆ กินผลไม้ที่ไม่หวาน หรือหวานน้อยแทน และออกกำลังกาย
3) ลดแอลกอฮอล์   เครื่ิองดื่มประเภทนี้ ตับทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไขมันเหมือนกัน
     วิธีการ :   หยุดกิน ถ้าหยุดไม่ได้ ก็กินน้อย พอเป็นพิธีเข้างานสังคม และ ออกกำลังกาย
4) กินอาหารที่มีกากใยสูง จากการศึกษา อาหารที่มีกากใยสามารถ ดักจับไขมันได้ เช่น กินมะเขือพวง กินอาหารจำพวกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง กินผลไม้ที่มีกากใย
     วิธีการ :   ไปตลาดหาซื้อผักที่มีกากใยสูง เช่น มะเขือพวง, มะรุม, ข้าวกล้อง, ข้าวโอ๊ต, ข้าวบาเลย์   และผลไม้ก็เป็น Apple, สตรอว์เบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, มัลเบอร์รี่ และเชอร์รี่ น่าอร่อยทั้งนั้น ตามรูป

ข้าวบาเลย์
ข้าวบาเลย์

ข้าวโพด
ข้าวโพด

Apple
Apple

สาลี่
สาลี่

Strawberry
Strawberry

Blue-berry
Blue-berry

Mul-Berry
Mul-Berry

Sherry
Sherry


สุดท้าย ขอสรุปว่า ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกิน ก็อย่ากินเฉพาะอาหารที่มีไขมัน ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยง หรืดลดปริมาณการกิน พร้อมกับการออกกำลังกายควบคู่กันไป

บทความนี้ได้จัดทำเพื่อให้ทุกคนตระหนักและได้รับรู้ถึงการดูแลสุขภาพ ร่างกาย อาหารการกิน และการออกกำลังกาย

ข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org/ , Internet and Image from Internet.
 
Share:

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังบทความของบล็อก

Recent Posts

Recent Posts Widget

ผู้สนับสนุน